http://www.loveorchid.com เปิดทำการประมูลกล้วยไม้รองเท้านารี ติดตามรายละเอียดกันได้ครับ
ยินดีต้อนรับเพื่อนทุกคนครับ
กรุณาอ่านก่อนสักนิดครับ เพื่อน ๆ ยังคงสมัครสมาชิกกันที่นี่ตลอดเวลา ขณะนี้เราย้าย server ไปเล่นกันที่ http://www.loveorchid.com ไปสมัครกันได้ครับ ขอบคุณ
http://www.loveorchid.com เปิดทำการประมูลกล้วยไม้รองเท้านารี ติดตามรายละเอียดกันได้ครับ
ยินดีต้อนรับเพื่อนทุกคนครับ
กรุณาอ่านก่อนสักนิดครับ เพื่อน ๆ ยังคงสมัครสมาชิกกันที่นี่ตลอดเวลา ขณะนี้เราย้าย server ไปเล่นกันที่ http://www.loveorchid.com ไปสมัครกันได้ครับ ขอบคุณ
http://www.loveorchid.com เปิดทำการประมูลกล้วยไม้รองเท้านารี ติดตามรายละเอียดกันได้ครับ
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


เว็บไซด์คนชอบกล้วยไม้ บ้ากล้วยไม้ คุยเฮฮา ประสาเพื่อนฝูง มุ่งเน้นมิตรภาพ และความจริงใจ สำหรับคนคอเดียวกัน
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
noom
บ้าต้วมเตี้ยม
บ้าต้วมเตี้ยม
noom


จำนวนข้อความ : 83
คะแนนโหวต : -1
Join date : 24/02/2010

ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก   ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก EmptySat Feb 27, 2010 12:31 pm

บทความนี้ผมเก็บไว้นานแล้ว จำที่มาไม่ได้แต่เห็นว่าเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนคนรักกล้วยไม้ ผมขอนุญาตนำมาเยแพร่นะครับ ขอบคุณสำหรับเจ้าของบทความครับ หากผ่านมาเห็นก็ขอให้บอกนะครับ ผมจะขึ้นรายละเอียดให้


ปลูกกล้วยไม้จะปลูกอย่างไรให้มีความสุข เป็นทั้งอาหารตาและอาหารใจ ไปร้านกล้วยไม้เห็นมีดอกสวยก็ซื้อหมดเท่าที่มีกำลังทรัพย์ แต่ลืมคิดว่ามีใครปลูกกล้วยไม้ให้ และมีเวลาว่างพอจะปลูกหรือไม่ มีแสงสว่างพอที่ต้นกล้วยไม้จะได้รับแสงหรือเปล่า
เรามาเรียนรู้ชนิดของกล้วยไม้ก่อนว่าอยากปลูกกล้วยไม้แบบไหน
1. รากอากาศ
2. รากกึ่งอากาศ
3. กล้วยไม้ดิน
1. รากอากาศ (Epiphytic Orchid) รากค่อนข้างใหญ่ ไม่จะเป็นต้องมีเครื่องปลูกก็ได้ เช่น
- สกุลแวนดา (Vanda) สกุลเดิม เช่น แวนดาฟ้ามุ่ย (V. Coerulea)
- สกุลแอสโคเซนดา (Ascocenda) ลูกผสมระหว่างสกุลแวนดา กับ สกุลแอสโคเซนตรั้ม (Ascocentrum)
- สกุลมอคคารา (Mokara) ลูกผสมระหว่าง สกุลอะแรคนิส (Arachnis) กับสกุลแอสโคเซนดา
- สกุลคากาวารา (Kagawara) ลูกผสมระหว่าง สกุลรีแนนเธอรา (Renanthera) ผสมกับสกุลแอสโคเซนดา
- สกุลอะแรนดา (Aranda) ลูกผสมระหว่างสกุลอะแรคนิส กับ สกุลแวนดา
- สกุลช้าง (Rhynchostylis) ช้างกระ (Rhinchostylis gigantean) ช้างแดง (Rhynchostylid gigantean var. devara junii) ช้างเผือก (Rhynchostylid gigantean var. petoriana) เป็นต้น
2. รากกึ่งอากาศ (Semi - Epiphytic Orchid) ควรมีเครื่องปลูก เช่น ถ่าน กาบมะพร้าว อิฐมอญทุบ กระถางแตก เป็นต้น เช่น สกุลหวาย (Dendrobium) สกุลแคทลียา (Cattaleya) สกุลออนซิเดียม (Oncidium) สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) สกุลฟาแนนอพซิส (Phalaenopsis) สกุลแกรมมาโตฟิลลัม (Grammatophyllum) เป็นต้น
3. กล้วยไม่ดิน (Terrestrial Orchid) ส่วนใหญ่มักเป็นหัว ฝังอยู่ในดินโปร่ง เช่น นางอั้ว สาคริก (Pacteillis sagarikii) ลิ้นมังกร (Habenaria) ว่านร่อนทอง (Ludisia discolor) เหลืองพิศมร (Spathoglottis lobbii) เป็นต้น
กล้วยไม้เจริญเติบโต 2 รูปแบบ
1. เจริญเติบโตไปทางยอด (Monopodial) ต้นจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สูงหลายเมตร เช่น แวนด้าเอื้องโมก (Vanda teres) ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้รากอากาศ
2. เจริญเติบโตเป็นกอ (Sympodial) เช่น สกุลหวาย สกุลคัทลียา สกุลออนซิเดียม สกุลแกรมมา โตฟิลลัม เป็นต้น
กล้วยไม้จะออกดอกหรือจะเจริญเติบโตได้ดี ยังแบ่งชนิดกล้วยไม้ตามสภาพภูมิอากาศ เช่น
1. กล้วยไม้เขตร้อน (Tropical Orchid) เช่น สกุลแวนด้า แอสโคเซนดา มอคคารา สกุลหวายบางชนิด
2. กล้วยไม้เขตกึ่งร้อน (Sub - Tropical Orchid) เช่น สกุลคัทลียาบางชนิด สกุลหวายบางชนิด สกุลออนซิเดียมบางชนิด
3. กล้วยไม้เขตกึ่งหนาว (Intermediate Orchid) เช่น กล้วยไม้สกุลซิมมิเดียมบางชนิด (Cymbidum) สกุลออนซิเดียมบางชนิด สกุลมิลโทเนีย (Miltonia) เป็นต้น
4. กล้วยไม้เขตหนาว (Temperate Orchid) เช่น สกุลซิมมิเดียมบางชนิด ส่วนใหญ่อยู่ตามที่สูงอากาสหนาวเย็น
องค์ประกอบสำคัญในการปลูกกล้วยไม้ให้งามและออกดอก คือ
1. แสงสว่าง
2. อุณหภูมิ
3. ความชุ่มชื้น
4. สิ่งแวดล้อม
5. ผู้ปลูกเลี้ยง
ขึ้นไปข้างบน Go down
noom
บ้าต้วมเตี้ยม
บ้าต้วมเตี้ยม
noom


จำนวนข้อความ : 83
คะแนนโหวต : -1
Join date : 24/02/2010

ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก   ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก EmptySat Feb 27, 2010 12:32 pm

น้ำรดต้นกล้วยไม้
น้ำใสสะอาดมีความเป็นกรด - ด่าง (pH ประมาณ 5.5 - 7) ค่า pH ต่ำกว่า 7 มีความเป็นกรด ถ้าค่า pH สูงกว่า 7 มีความเป็นด่าง ควรใช้กรดไนตริกเพื่อช่วยลดค่า pH แต่สำคัญคุณสมบัติของน้ำต้องรู้ค่าของประจุไฟฟ้า (EC. คือ Electrical Conductivity) อยู่ประมาณ 200 ถ้าเกินกว่า 600 จะทำให้ต้นกล้วยไม้ไม่แข็งแรง สามารถนำน้ำไปตรวจคุณสมบัติได้ที่ กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร อยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรบางเขน โทร 0-2579-8600 น้ำบาดาลส่วนใหญ่จะมีค่า pH สูงถึง 8 และค่า EC ประมาณ 600 ฉะนั้นถ้าใช้น้ำแม่น้ำ หรือน้ำคลองชลประทานจะดี น้ำตก น้ำตามไหล่เขา น้ำใสแต่ค่า pH สูง ถ้าน้ำคลองขุ่นต้องผ่านระบบกรองน้ำ การให้น้ำควรให้น้ำตอนเช้าก่อนแสงแดดจัด แสงสว่างจะช่วยต้นกล้วยไม้ในการปรุงอาหารได้ดี
ขึ้นไปข้างบน Go down
noom
บ้าต้วมเตี้ยม
บ้าต้วมเตี้ยม
noom


จำนวนข้อความ : 83
คะแนนโหวต : -1
Join date : 24/02/2010

ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก   ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก EmptySat Feb 27, 2010 12:32 pm

ปุ๋ยกล้วยไม้
สูตรปุ๋ย N: P: K (ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพรตัสเซียม)

ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุอาหารช่วยเจริญเติบโตทางใบ ทำให้ต้นกล้วยไม้เจริญงอกงาม มีใบสีเขียวและใหญ่ ถ้าใส่ไนโตรเจนมากไป ต้นกล้วยไม้จะอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรค เนาง่าย ลำต้นโน้มงอต้องใช้ปุ้ยที่มีสูตรฟอสฟอรัส (P) คือตัวกลางสูงช่วยแก้ต้นกล้วยไม้ที่ขาดไนโตรเจน ใบเล็ก สีไม่เขียว เท่าที่ควร ต้นจะแคระแกร็น
ธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus) ช่วยให้ลำต้นกล้วยไม้แข็งแรง ออกราก ออกดอกเร็ว ช่วยให้ฝักกล้วยไม้มีเมล็ดแข็งแรง และงอกดี ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นกล้วยไม้แก่เร็ว และออกดอกเร็วไป ใบเล็กและแข็งสั้น ถ้าขาดฟอสฟอรัส ลำต้นแคระแกร็น ใบจะมีสีเขียวอมม่วง ออกดอกช้า ฝักกล้วยไม้ล่วงง่าย
ธาตุโปรตัสเซียม (Potassium) ช่วยในการเจริญเติบโตของหน่อและยอดอ่อน ช่วยระบบการเคลื่อนไหวของอาหาร และน้ำของต้นกล้วยไม้ ช่วยให้ดอกโต สีสันสวย และช่วยสะสมอาหารจำพวกแป้งไว้ในยามที่ต้นกล้วยไม้พักตัว ถ้าสาธาตุโปรตัสเซียมมากเกินไป ลำต้นและใบจะแกร็น และแข็งผิดปกติ ใบอ่อนจะเหี่ยว ใบแก่ปปลายใบจะไหม้เกรียม ถ้าต้นกล้วยไม้ขาดธาตุโปรตัสเซียม การเจริญเติบโตจะชะงัก (ไม้ใหญ่ไม่ใช่ไม้เล็ก) ลำต้นลีบและแห้งตาย ลำข้อป้องถึ่ผิดปกติ
ฉะนั้นการให้ธาตุอาหารกับต้นกล้วยไม้ จะต้องมีประสบการ์ว่า จะให้ปุ๋ยสูตรอะไรดี เมื่อไรและมากน้อยแค่ไหน ช่วยความจำง่ายๆเหมือนคน ถ้ายังเด็กอยู่จะให้มีลูกก็คงยาก (ต้นเล็กให้ N สูง) ถ้าเด็กสาวก็ช่วยเร่งให้มีลูกได้ (ออกดอกให้ P สูง) เมื่อมีท้องก็ต้องให้ลูกและแม่แข็งแรง (ดอกสวยและลำต้นแข็งแรงให้ K สูง)
N ไนโตรเจนสูง เลี้ยงไม้เล็ก ใบงาม ถ้าไนโตรเจนมากไปรากจะลดลง
P ฟอสฟอรัส เร่งราก เร่งดอกออก รากสวยงาม
K โปรตัสเซียมสูง ดอกใหญ่ สีสวย ก้านดอกและต้นแข็งแรง
สูตรปุ๋ยของแต่ละบริษัทที่ผลิต จะกำหนดอัตราส่วนของธาตุอาหารไม่เหมือนกัน เช่น 20:20:20 คือ N = 20 กรัม ต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กรัม P = 20 กรัม ต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กรัม K = 20 กรัม ต่อน้ำหนักปุ๋ย 100 กรัม คือ อัตราส่วน 1: 1: 1
ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จะใช้สูตรปุ๋ยตามประสบการณ์ที่ปลูกมาแล้วได้ผลดี ฉะนั้นคงไม่มีหลักการการใช้ปุ๋ยตายตัว
โรคกล้วยไม้ (Orchid diseases)
สิ่งที่ก่อให้เกิดโรคกล้วยไม้ โรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเสีย ใกล้เล้าสัตว์ปีก แดดจัด ฝนตกหนัก หมอกลง น้ำเป็นพิษ คือ pH และ EC สูงเกินไป ปุ๋ยเป็นพิษ เครื่องปลุกผุ เป็นต้น เมื่อต้นกล้วยไม้ไม่แข็งแรงก็ทำให้เชื้อโรคเข้าต้นกล้วยไม้ง่าย จะต้องหมั่นสังเกตุจากขณะที่รดน้ำกล้วยไม้ เชื้อโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย (Bacteria) หรือเชื้อรา (Fungi) หรือเชื้อไวรัส (Virus) ฉะนั้นควรฉีดยาป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ถ้าเป็นโรคแล้วรีบหาทากำจัดทันที ถ้าคิดว่ารักษายากให้นำต้นที่เป็นโรคไปเผาไฟทิ้ง ฉะนั้นเวลาที่ซื้อกล้วยไม้นำเข้ามาใหม่ควรดูด้วยว่าต้นกล้วยไม้เป็นโรคหรือเปล่า
ขึ้นไปข้างบน Go down
noom
บ้าต้วมเตี้ยม
บ้าต้วมเตี้ยม
noom


จำนวนข้อความ : 83
คะแนนโหวต : -1
Join date : 24/02/2010

ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก   ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก EmptySat Feb 27, 2010 12:32 pm

โรคกล้วยไม้ (Orchid diseases)
1. โรคเน่าดำ (Phytophthora palmivora Butt) ลักษณะอาการ ใบมีจุดน้ำตาลแฉะ จะเปลี่ยนเป็นสีดำในที่สุด โคนต้นเน่า รากเน่า ดอกเน่า เกิดจากสภาพความชื้นสูง ฝนตกหนัก อากาศเปลี่ยนฤดู
2. โรคจุดสนิม (Curvalaria eraqostidis) ลักษณะอาการ กลีบดอก ใบ จะเป็นจุดน้ำตาลคล้ายสนิม
3. โรคเน่าแห้ง โรคราเม็ดผักกาด (Sclerotium rotist Sacc.) ลักษณะอาการ จะทำลายบริเวณราก โคนต้น และยอด เป็นเม็ดคล้ายเม็ดผักกาด ลักษณะต้นเหมือนมีแป้งโรย ใยสีขาวขุ่นเป็นเส้นหยาบ จากการสังเกตุพบในเครื่องปลูกเสีย อากาศร้อน ความชื้นสูง ถ้าพบเห็นให้ทำลายทิ้งทั้งต้น โรคนี้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
4. โรคใบปื้นเหลือง (Pseudocercos poro dendrobil) ลักษณะอาการ ใบแก่ ใบโคนต้นจะเหลืองเป็นปื้น มีผงสีดำคล้ายผงดินสอกระจายอยู่ ถ้าทิ้งไว้ใบจะเหลืองดำทั้งใบ และหลุดล่วงจากต้น จะระบาดตอนย่างเข้าฤดูหนาว ควรจะเก็บนำใบที่เป็นโรคทิ้งเผาไฟ
5. โรคขี้กลาก (Phyllosticta sp.) โรคราชบุรี ซึ่งเกิดจากสกุแวนดาที่จังหวัดราชบุรี ทำให้ชาวสวนกล้วยไม้ชาวราชบุรีไม่ชอบชื่อโรคนี้ ลักษณะอาการ เป็นจุดแผลสีน้ำตาลดำ เหมือนเมล็ดข้าว กระจัดกระจายบนใบ จนกลายเป็นใบปื้นน้ำตาลเข้ม จับดูจะรู้สึกสากมือ
6. โรคเอนเทรคโนส (Colletotrichum sp.) ลักษณะอาการ ปลายใบแห้ง โรคใบไหม้ แผลสีน้ำตาลเป็นวงๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น ลามจากปลายใบไปหาโคน
7. โรคใบจุด (Alternaria sp.) ลักษณะอาการ ใบจุดดำทั่วทั้งใบ แล้วจะเป็นสีดำบุ๋มๆ
8. โรคราดำ (Cladosporium sp.) ลักษณะอาการ เป็นปื้นสีดำเป็นแถบสกปรก ตามกาบใบระหว่างลำต้น จะเกิดในช่วง ปลายฤดูฝน เข้าฤดูหนาว
9. โรคโคนเน่าดำ (Fusarium sp.) ลักษณะอาการ โคนต้นเน่าดำเกิดจากเครื่องปลูกเสีย ตะไคร่น้ำจับหน้าเชื้อราเข้าทางรากทำให้โคนเน่าใบเหี่ยว ควรเปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่
10. โรคราขาว (Rhizoctonia sp.) ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกเน่าจากปลายราก มาทางโคนต้น เหมือนมีแป้งโรย ใบซีดเหลือง เกิดจากเครื่องปลูกไม่ได้คุณภาพ โดยเฉพาะกาบมะพร้าวที่ยังไม่แก่พอ
11. โรคเน่าเละ (Pseudomonas gladioli) ลักษณะอาการ เกิดจากแบคทีเรีย อาการใบเน่าฉ่ำน้ำ ลำลูกกล้วยเน่า ใบหลุดล่วง โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน หรืออาการมีความร้อนชื้นสูง อบอ้าว
12. โรคไวรัส มีไวรัสหลายตัว (Cymbidium Mosaic virus, Tobacco Mosaic virus, Bacilliform) ลักษณะอาการ ดอกด่างมีอาการเบี้ยวบิด สีเข้มสลับสีอ่อน ใบยอดบิด ใบด่างเป็นจ้ำๆ เขียวอ่อนสลับเขียวเข้ม
ขึ้นไปข้างบน Go down
noom
บ้าต้วมเตี้ยม
บ้าต้วมเตี้ยม
noom


จำนวนข้อความ : 83
คะแนนโหวต : -1
Join date : 24/02/2010

ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก   ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก EmptySat Feb 27, 2010 12:33 pm

โรคแมลง (Insect and Pest)
1. เพลี้ยไฟ (Thrip palmi, Dichromotrip corbetti) เพลี้ยแป้ง (Mealy buy) เพลี้ยหอย (Scale insect) เพลี้ยอ่อน (Aphid) ลักษณะอาการ เพลี้ยไฟหรือตัวกินสี จะวางไข่ในเยื่อของกลีบกล้วยไม้ ระยะไข่ 2-6 วัน มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ตัวมีปีกบินได้ ขนาดยาว 1-2 ม.ม. ชอบระบาดในอากาศร้อน และแห้งแร้งในฤดูร้อนและฤดูหนาว (ไม่หนาวมาก) ในฤดูฝนระบาดน้อยลง สังเกตจากดอกตูมจะเป็นสีน้ำตาลและแห้งคาช่อดอกบาน ปลายกลีบดอกจะมีสีซีดขาว และจะเป็นสีน้ำตาลเรียกดอกไหม้ ใบเพลี้ยไฟชอบหลบซ่อนอยู่ในกลีบใบ ส่วนเพลี้ยแป้งเหมือนแป้งโรย โดยเฉพาะเครื่องปลูกเป็นถ่าน มดดำเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งมา เพลี้ยหอย มักจะพยตามร่องใบของลำลูกกล้วย เป็นเม็ดนูนหรือแบน ถ้าไม่กำจัดเพลี้ยหอยขับถ่ายน้ำคล้ายน้ำตาล เชื้อจะทำให้เกิดโรคราดำ
2. ไรแดง (Dolivotetranychus Vandergooti) ลักษณะอาการ ใบเป็นสีขาวเหมือนมีแป้งโรยที่ใบบางๆ โดยเฉพาะด้านใต้ใบจะเป็นสีน้ำตาลเหมือนผิวเหล็กเป็นสนิม ไรแดงชอบอยู่หลังกลีบดอก เรียกหลังลาย หรือหลังขี้กลาก บางครั้งเหมือนลักษณะสีแดงกระเด็นใส่ดอก
3. หนอนแมลงวันชอนดอก (Aqromy zidae) ลักษณะอาการ ชอบระบาดในฤดูฝน มีความชื้นสูง ดอกตูมจะเน่าเหลือง ฉ่ำน้ำ แกะดอกตูมดูจะเห็นตัวหนอนขนาดเส้นด้าย ยาว 1-2 ม.ม. อยู่กันเป็นกลุ่ม 3-7 ตัวขึ้นไป ชาวสวนชอบเรียกไอ้อวบ คือดอกร่วงฮวบฮาบ ระบาดรุนแรง บางท่านเข้าใจว่าเป็นเชื้อรา ถ้าใช้ย่าฆ่าเชื้อราก็จะไม่หาย
4. หนอนกระทู้หอย (Spodoptera exiqua) ลักษณะอาการ ระบาดสวนกล้วยไม้ที่ปลูกอยู่กับพวกสวนผัก หรือสวนผลไม้ หนอนมีหลายสี (เขียว เทา น้ำตาล) ด้านล่างมีแถบขาวตามลำตัว จะกัดกินดอกและใบดอกแหว่งเหมือนตั๊กแตนกินใบ จะพบไข่อยู่ใต้ใบ หรือกลีบดอก
5. หนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) ลักษณะอาการ ตัวโตขนาด 3-4 ซ.ม. จะออกหากินตอนกลางคืน จะกัดกินใบอ่อนจนบางใสหรือเป็นรูพรุน
6. ด้วงเต่า (Lemma pectolaris) ลักษณะอาการ เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวสีเหลืองทอง มีหนวดและมีขาสีดำ ขนาด 8 ม.ม.ดักแด้อยู่ในโฟมคล้ายฟองสบู่ขาวหุ้มตัวมันมิด ชอบกินใบอ่อนและดอกทั้งดอกตูมและดอกบาน
7. ด้วงกุหลาบ (Adoretus compressus) ลักษณะอาการ สีน้ำตาลอ่อนอมเทา ลำตัวป้อมแบน ออกหากินตอนเย็นและตอนกลางคืน ชอบเล่นแสงไฟ กลางวันจะหลบซ่อนอยู่ในกาบใบ กาบมะพร้าว ในดิน ชอบกินกลีบดอก
8. หนอนปลอก ลักษณะอาการ หนอนที่มีปลอกสีน้ำตาลเข้มหุ้ม และห้อยลงมา ชอบกินดอก ใบ ก้านช่อดอก จะพบมากที่ใบของต้นหมากสง (หมากกิน)
9. หนู ลักษณะอาการ เป็นศัตรูสำคัญชอบกันกินดอกและหน่ออ่อนของกล้วยไม้
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ปลูกกล้วยไม้ให้ออกดอก
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
http://www.loveorchid.com เปิดทำการประมูลกล้วยไม้รองเท้านารี ติดตามรายละเอียดกันได้ครับ :: ห้องบทความ+สาระความรู้เรื่องกล้วยไม้-
ไปที่: